วิธีใช้งาน Gitlab บน OpenLandscape Cloud
วิธีใช้งาน Gitlab บน OpenLandscape Cloud
Gitlab คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นจาก Git โดยมีหน้าที่สองส่วนคือเก็บซอร์สโค้ด (repository) และการจัดการโครงการ (CI/CD ย่อมาจาก continuous integration and continuous delivery) อีกทั้งยังเปิดให้ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการรายอื่น ๆ อีกด้วย
โดยผู้ใช้บริการใช้งาน Applications Gitlab บน gate.openlandscape.cloud ได้โดยมีขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้ค่ะ
- กดที่ Instance เลือกที่ Applications และกดที่ Gitlab จากนั้นอ่านที่ Detail ก่อนค่ะ
ส่วนของ Detail Gitlab จะบอกในส่วนของคำอธิบาย และวิธีเริ่มต้นใช้งานหลังจากสร้าง Applications เรียบร้อยแล้วค่ะ

Detail Gitlab

Detail Gitlab
2. Package ของ Instance ใน Application Gitlab จะเริ่มต้นที่ Package C เป็นต้นไปค่ะ

Package Instance
3. ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้ได้แบบ Password หรือ Keypair ได้เลยค่ะ หากเลือกใช้แบบ Password รหัสจะถูกส่งไปทางอีเมลที่ผู้ใช้บริการค่ะ
4. ผู้ใช้บริการกด Create Instance ได้เลยค่ะ
- ระบบก็จะทำการสร้างเครื่อง Instance Gitlab มาให้ยังผู้ใช้บริการค่ะ
- ส่วน User และ Password จะส่งให้ผู้ใช้บริการทางอีเมลค่ะ
(ในตัวอย่างได้เลือกการสร้างโดยใช้ Keypair ค่ะ )

วิธีใช้งาน Gitlab
5. จากนั้นเข้าเครื่อง IP Public ที่ผู้ใช้บริการสร้างเครื่อง Instance พอเข้าไปแล้วจะเจอหน้า Console แบบนี้

วิธีใช้งาน Gitlab

วิธีใช้งาน Gitlab

วิธีใช้งาน Gitlab
- หน้าต่อไปจะให้ผู้ใช้บริการดำเนินการ Log in เข้าหน้าเว็บ Gitlab ค่ะ
ส่วน Username จะตามอีเมลที่ผู้ใช้บริการได้ทำการสร้างเครื่อง Instance ไว้ตั้งแต่ตอนแรกค่ะ และ Password จะเป็นรหัสที่ผู้ใช้บริการได้ทำการเปลี่ยนก่อนหน้านี้ค่ะ

วิธีใช้งาน Gitlab
- หลังจากที่ผู้ใช้บริการได้ Log in เข้าเรียบร้อยแล้วจะขึ้นหน้าต่างดังด้านล่างค่ะ

วิธีใช้งาน Gitlab
หากผู้ใช้บริการเลือกสร้าง Project โดยเลือกกดที่ Create a projrct จะเป็นการสร้าง Project ไว้ เก็บไฟล์ซอฟโค้ดของผู้ใช้บริการเองบน wiki ผู้ใช้บริการสามารถตั้งค่า Project , Templates ได้เลยค่ะ และหน้าต่างจะแบบดังรูปด้านล่างค่ะ

หน้าต่าง Tool Project
- ผู้ใช้บริการสามารถตั้งค่า Project ตามที่ผู้ใช้บริการต้องการได้เลยค่ะ

หน้าต่างของ New Project ส่วนของ Blank project
- ผู้ใช้บริการสามารถตั้งค่าเลือก Templates ตามที่ผู้ใช้บริการต้องการได้เลยค่ะ

หน้าต่างของ New Project ส่วนของ Create from template
- หากต้องการดู templates ให้กดที่ Preview และหากต้องการใช้งาน templates นั้นให้กดที่ Use templates ค่ะ ตัวอย่าง templates ที่กด Preview ตามรูปด้านล่างค่ะ

หน้าต่างของ Preview templates
- ผู้ใช้บริการสามารถกด Import project มาจากทางเว็บอื่นที่ผู้ใช้บริการเก็บซอตโค้ดก่อนหน้านี้มายัง Gitlab ได้เลยค่ะ

หน้าต่างของ New Project ส่วนของ Import project
หากผู้ใช้บริการเลือกสร้าง Group โดยเลือกกดที่ Create a group จะเป็นกลุ่มช่วยทำให้ผู้ใช้บริการสามารถจัดการการทำงานร่วมกันในหลายโครงการ สมาชิกใน Group สามารถเข้าถึงโครงการทั้งหมดได้ และหน้าต่างจะแบบดังรูปด้านล่างค่ะ

หน้าต่าง Tool Group
- ผู้ใช้บริการสามารถตั้งค่า Group ตามที่ผู้ใช้บริการต้องการได้เลยค่ะ

หน้าต่างของ New Group
3. Tool People
หากผู้ใช้บริการเลือกสร้าง User อื่นที่จะเข้าร่วมในกลุ่ม Group โดยเลือกกดที่ Add People จะเป็น User ที่สร้างเพื่อที่จะได้เข้าอยู่ใน Group ตามที่ผู้ใช้บริการต้องการสร้าง User นั้น ๆ และหน้าต่างจะแบบดังรูปด้านล่างค่ะ

หน้าต่าง Tool People
- ผู้ใช้บริการสามารถตั้งค่า User ตามที่ผู้ใช้บริการต้องการได้เลยค่ะ

หน้าต่างของ New User
4.Tool Config
หากผู้ใช้บริการเลือก Config Instance แบบอื่น โดยเลือกกดที่ Configure GitLab และหน้าต่างจะแบบดังรูปด้านล่างค่ะ

หน้าต่าง Tool Config
- ผู้ใช้บริการสามารถตั้งค่า Config ตามที่ผู้ใช้บริการต้องการได้เลยค่ะ

หน้าต่างของ Configure GitLab
ในส่วนของ User Settings
หากผู้ใช้บริการต้องการเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวหรืออื่นในการใช้งาน GitLab
สามารถตั้งค่าโดยกดที่ปุ่มขวามือสุดของแทบเครื่องมือและเลือกกดที่ Settings ค่ะ

หน้าต่างของ Settings
- จากนั้นเมื่อกดเข้าสู่ Settings ในแทบเครื่องมือทางซ้ายมือจะมีให้ผู้ใช้บริการสามารถได้เลือกตั้งค่าหลากหลาย ดังรูปด้านล่างค่ะ

หน้าต่าง Tool User Settings

หน้าต่างโดยรวมของ Tool User Settings
- ทั้งนี้ผู้ใช้บริการสามารถตั้งค่าในส่วนต่าง ๆ ของ User ที่ผู้ใช้บริการต้องตั้งค่าได้เลยค่ะ
จบการศึกษาจากคณะเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
มีความชื่นชอบด้านเทคโนโลยี คือความท้าทายอย่างหนึ่ง หากเราได้แสวงหา ศึกษา ลงมือทำแล้ว ทำให้เราสามารถนำไปพัฒนา
ต่อยอดความรู้นั้นได้